ในยุคที่บ้านเมืองมีความขัดแย้ง และความแตกต่างของช่วงอายุของผู้คนในสังคม (generation) ทำให้เกิดช่องว่างทางความคิด ความเชื่อ และความเข้าใจที่แตกต่างระหว่างแพทย์ด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ในมหาวิทยาลัย แพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข แพทย์ทหาร ตำรวจ และแพทย์เอกชน ความเข้าใจที่แตกต่างกันนี้ ยังรวมไปถึงความเข้าใจที่ต่างกัน ระหว่างแพทย์กับบุคคลการในสายอาชีพอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
ปัญหาดังกล่าวนี้ จึงเป็นช่องว่างเล็ก ๆ ที่ส่งผลให้การขับเคลื่อนวงการแพทย์ไทย ผ่าน 15 ราชวิทยาลัย 25 มหาวิทยาลัย ขาดความต่อเนื่องและไม่สามารถประคองให้มีความมั่งคง และยั่งยืนได้สถาบันมหิตลาธิเบศรนี้เป็นสถาบันวิชาการ ที่ส่งเสริม สนับสนุน และประคองให้วงการแพทย์มั่นคงและยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้นอกวิชาการแพทย์ มีสถานภาพเหมือนเป็นราชวิทยาลัยหนึ่ง ของแพทยสภาในด้าน Non Med and Non Technical Skill ได้แก่ กฎหมายและจริยธรรม การบริหาร เทคโนโลยี การสื่อสาร เศรษฐกิจ การเงินและสังคม ธรรมภิบาล เป็นต้น
โดยสถาบันมหิตลาธิเบศร ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยสถาบันมหิตลาธิเบศร เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และมีที่ตั้งอยู่ที่ "อาคารมหิตลาธิเบศ" ในกระทรวงสาธารณสุข